วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

ณ ที่หอพักแห่งหนึ่ง
สำหรับการเป็นนักศึกษาแล้วเมื่อมาใช้ชีวิตที่หอพัก ทุกสิ่งทุกอย่างอิสระเสรี จนเราลืมนึกไปเลยว่าอิสระมากเกินไปมันทำให้ตัวเราเองขาดการควบคุม
ขาดการอยู่ในกฏเกณฑ์ ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีการวางแผนที่จะดำเนินชีวิต คิดเพียงว่า เช้าตื่นไปเรียน เย็นกลับมา เที่ยวเล่น และกลับมาหอ และไม่มีการทบทวนการบ้าน อ่านหนังสือใดๆทั้งนั้น จนกระทั่ง เมื่อจะถึงเวลาสอบ ก่อนสอบก็จะอ่านๆๆ แล้วก็ไม่เข้าใจ จากความไม่เข้าใจก็เก็บไว้ เก็บไว้ เก็บไว้ และเก็บไว้ บอกว่าเดี่ยวค่อยถามอาจารย์ เดี่ยวค่อยถาม แล้วเดี๋ยวก็จะสอบในวันถัดมา ก็ยังไม่ได้รู้แจ้งว่าสรุปที่สงสัยนั้นจะได้คำตอบเมื่อไร และจะทำข้อสอบได้อย่างไร นั่นคือความจริง ที่ข้าพเจ้าเคยทำ ขอใช้คำว่าเคยทำ ซึ่งข้าพเจ้า คิดย้อนกลับไปแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกเสียดายเวลาที่ว่างป่าวมาก
นั่นคือ การใช้เวลา ในการทำคุณประโยชน์ ออกกำลังกาย หรือแม้จะการหารายได้พิเศษระหว่างเรียน ข้าพเจ้าก็มีโอกาสที่ดีมากๆ ที่ได้รับโอกาสในการฟัง เพื่อจะหารายได้พิเศษระหว่างเรียนที่ไม่กระทบต่อการเรียน อีกทั้งยังมีเพื่อนๆน้องๆนักศึกษาคณะต่างๆร่วมทำกิจกรรมนี้ด้วยกัน ทั้งคณะเภสัชศาสตร์ วิศวะกรรมศาสตร์ บริหาร ซึ่งทุกๆคนที่ได้เข้ามาในกิจกรรมนี้ ต่างก็มีจุดมุ่งหมายในครั้งแรกคือ หารายได้พิเศษระหว่างเรียน และก็มีเพื่อนที่มีรายได้ระหว่างเรียนมีรายได้จากกิจกรรมนี้หลักหมื่นกันแล้วคะข้าพเจ้าจึงมองย้อนกลับไปว่า ทำไมถึงมีเวลาทำงาน เอาเวลา แบ่งเวลาในการทำงานกับการเรียนได้อย่างไร ข้าพเจ้ารู้สึกในครั้งแรกที่ได้ยิน จึงมีความรุ้สึกประทับใจ ว่าเพื่อนๆน้องๆ ที่เข้ามาเรียน ทุกๆๆคนจะมีเวลาเท่ากันหมด คือ 24 ซม. และเรียนก็ โดยประมาณ 8 ซม./วัน เท่ากัน แต่ก็อ่านหนังสือ แล้วแต่ใครจะแบ่งเวลา และยิ่งแบ่งเวลามาทำงานหารายได้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้านด้วย ข้าพเจ้าจึงคิดว่า เพื่อนๆน้องๆ เขาก็เป็นคน มีมือมีเท้า เท่ากัน ไม่เห็นมีอะไรที่พิเศษมากไปเกินกว่าเรามี แล้วทำไม เขาจึงแบ่งเวลาและมีความสามารถในการหารายได้เดือนละเป็นหมื่นได้ เขาทำกันอย่างไร
จนกระทั่งได้มีการตัดสินใจ ครั้งยิ่งใหญ่คือเข้าไปฟังรายละเอียดว่าทำงานอะไร ทำอย่างไร นั่นทำให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจ และเชื่อในตัวเองว่าข้าพเจ้าจะต้องทำได้ ซึ่งความสามารถต่างๆ ข้าพเจ้าก็จะเรียน และพยายามทำตามแบบอย่างที่ดีที่เคยทำมาในการทำงาน ข้าพเจ้าจึงได้มีความมั่นใจว่า ข้าพเจ้าจะทำงานนี้ได้ดีและ ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าสามารถที่จะพัฒนาตัวเอง เพื่อให้สามารถ ดำเนินการในการทำงานหรือในการประพฤติตนเอง ให้มีคุณประโยชน์ มากว่าที่ผ่านมา คิดเสียดายเวลาที่ปล่อยว่างไร้ประโยชน์มากมายที่ผ่านมา ก็จะย้อนกลับไปไม่ได้แล้ว ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงเริ่มตัดสินใจแน่วแน่ว่า ข้าพเจ้าจะต้องทำงานไปด้วยระหว่างเรียนจากธุรกิจนี้ และงานนี้ไม่ใช่แค่งาน แค่ต้องการเงิน มันไม่ใช่ มันมีบางอย่างที่ไม่สามารถตีค่า ตีราคาออกมาเป็นเงินได้ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมา นั่นคือ เพื่อน พี่ น้อง และ ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา ในชีวิตที่ประสบช่วยกัน นั่นคือสิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจในการทำงานระหว่างเรียน ขอขอบพระคุณผู้มีพระคุณทุกๆๆท่าน
ข้าพเจ้ามั่นใจว่า แม้วันนี้ยังเป็นแค่เมล็ดผลที่ไม่มีทีท่าว่าจะเป็นพันธ์ที่ดีได้ ไม่มีทีท่าที่จะเป็นต้นกล้าได้ แต่สักวันหนึ่งเมล็ดพันธ์นี้จะเป็นต้นไม้ต้นใหญ่ที่มีผุ้คนหรือสัตว์ต่างๆ ได้มาพึงพาอาศัยได้อย่างแน่นอน และจะเป็นต้นไมใหญ่ที่ดีให้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

พระราชบัญญิติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ร์

ทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุกวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ. ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์

หมายเหตุ ข้อมูลถามตอบนี้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ การนำไปใช้และอ้างอิงใดๆจึงควรพิจารณาประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดอีกครั้ง


1. ถาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้เมื่อใด
    ตอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป


2. ถาม ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

    ตอบ นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง


3. ถาม: แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้

    ตอบ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
      การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
      การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
      การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
      การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
      การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
      การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข
      การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
      การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
      การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
      เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้


4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง

    ตอบ สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

    1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย

    2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน

    3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)

    4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น


5. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลอะไรบ้าง และจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นนานแค่ไหน

    ตอบ: ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้

      1. “ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้

      2. ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง


6. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการแต่ไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้เลย ถือว่าทำผิดพ.ร.บ.หรือไม่

    ตอบ: ถือว่าทำผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 500,000 บาท


7. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.นี้ จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการเมื่อใด
    ตอบ: ขอแบ่งเป็น 2 กรณี กล่าวคือ กรณีแรกหากคุณเป็นผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตหรือให้ สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นจะต้องเริ่มเก็บข้อมูลดังกล่าว ภายใน90 วันนับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ อีกกรณีหนึ่งคือในกรณีที่คุณเป็นผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์และข้อมูลผู้ใช้บริการภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ


8. ถาม: บทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.นี้

    ตอบ ผู้กระทำผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

    ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
    การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เกิน 10,000 บาท
    การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท
    การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 2 ปี ไม่เกิน 40,000 บาท
    การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท
    การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
    การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
    การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail) ไม่มี ไม่เกิน 100,000 บาท
    การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท
    การกระทำต่อความมั่นคง
    - ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์
    - กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ
    - เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

    ไม่เกิน 10 ปี
    3 ปีถึง 15 ปี
    10 ปีถึง 20 ปี

    และไม่เกิน 200,000 บาท
    และ60,000-300,000 บาท
    ไม่มี
    การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น (การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม)
    ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท
    ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
    การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท



9. ถาม: ในส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการอย่างไร
    ตอบ: หากเกิดกรณีที่เชื่อว่ามีการกระทำผิดตามพ.ร.บ. เจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ต้องขออนุญาตศาล

    1. มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้

    2. เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

    3. สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่


    การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องขออนุญาตศาล (พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจ ตามที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์ นั้นไว้เป็นหลักฐาน)

    1. ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้า หน้าที่

    2. สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

    3. ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้

    4. ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว

    5. ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้


10. ถาม: หากได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนในการสืบสวนอย่างไร

    ตอบ: หากคุณได้เข้าแจ้งความแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

    1. เมื่อได้รับการร้องทุกข์หรือตรวจพบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อขอหมายเลข IP Address และวันเวลาที่พบการกระทำความผิด

    2. เมื่อทำการตรวจหมายเลข IP Address แล้วพบว่าเป็นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) รายใด เจ้าหน้าที่จะทำหนังสือสอบถามข้อมูลจราจรและข้อมูลผู้ใช้บริการ

    3. หลังจากนั้นจะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีรายชื่อปรากฏมาให้ปากคำ

11. ถาม: ถ้าหากคุณเป็นผู้เสียหายจะต้องทำอย่างไร

    ตอบ: หากคุณกลายเป็นผู้เสียหาย แนะนำว่าให้คุณจดจำ URL (Uniform Resource Locater) ที่พบว่ามีการกระทำความผิด และให้คุณรวบรวมพยานหลักฐานที่สามารถหาได้ เช่น จัดพิมพ์รายละเอียดต่างๆ จดจำวันเวลาและสถานที่ที่พบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แล้วให้รีบไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น

12. ถาม: หากต้องการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไหน และมีหน่วยงานใดบ้างที่ดูแลรับผิดชอบ

    ตอบ: สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ได้จากเว็บไซต์ของหลากหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบ อาทิ

    1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: www.mict.go.th

    2. ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) :http://htcc.police.go.th

    3. กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: http://ict.police.go.th

    4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: www.royalthaipolice.go.th

    5. กรมสอบสวนคดีพิเศษ: http://www.dsi.go.th/dsi/index.jsp

    6. เว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA) http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php


อ้างอิง

  • http://www.etcommission.go.th/documents/laws/20070618_CC_Final.pdf
  • เอกสารคำอธิบายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4
    ประกอบการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมที่ 772/2550
  • ขอบคุณข้อมูล http://www.inet.co.th/computer_act/

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

การจะเป็นผู้ประกอบการด้าน IT ควรจะพิจารณาหรือต้องทำอะไรบ้าง


การจะเป็นผู้ประกอบการด้าน IT ควรจะพิจารณาหรือต้องทำอะไรบ้าง

-เรามีการวางแผน วิสัยทัศน์ ของธุรกิจอย่างไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร มีการวางแผนในอนาคตอย่างไรบ้าง
-เราต้องรู้ว่าเราทำธุระกิจอะไร กลุ่มตลาด กลุ่มลูกค้าเป็นแบบไหน และสินค้าที่ตรงความต้องการในลักษณะที่แปลกแวกแนวสร้างสรรค์สังคม ไม่เลียนแบบใคร ลูกค้าพึงพอใจ
-เราต้องรู้ว่าธุรกิจที่เราทำ มีระบบการบริหารลักษณะอย่างไร มีพนักงานมากน้อยเหมาะกับการบริการแบบใหน
-คุณลักษณะที่จะทำให้ธุรกิจเราประสบความสำเร็จจะมีลักษณะอย่างไร
-เรากล้าเสี่ยง กล้าได้กล้าเสียมากน้อยเพียงใด เสี่ยงมากได้กำไรมาก และก็ขาดทุนมากเช่นกัน เสี่ยงน้อย ลงทุนน้อย ได้กำไรน้อย ประสบความสำเร็จช้า เราจะเป็นอย่างไร เรามองธุรกิจเราได้จากการกล้าที่จะเสี่ยง หรือการลงทุนกับธุรกิจ จากความเสี่ยง เมื่อผ่านพ้นไป ก็จะเป็นโอกาส นั่นคือ เราจะมีธุรกิจที่เป็นที่ยอมรับ ประสบความสำเร็จได้เรามองหรือคาดหวังเร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับเราเป็นผู้ตัดสินใจ ยิ่งตัดสินใจเร็ว ก็ยิ่งสำเร็จเร็ว
-ในการทำธุรกิจ หรือจะเป็นผุ้ประกอบการ ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมรอบข้าง และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
-ธุรกิจจะสำเร็จได้ ก็จากคนรอบข้าง คนใกล้ชิด สภาพแวดล้อม สังคม กลุ่มคน นั้นเป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้เราได้ประสบความสำเร็จได้เร็ว เพราะการได้รับการสนับสนุนจากผู้มีประสบการณ์ และจากคนใกล้ชิดให้การสนับสนุนนั่นเอง
-ผู้ประกอบการที่ดีมีความอดทน ไม่ย้อท้อ แม้มีอุปสรรค จะทำให้วิกฤตนั้นเป็นโอกาสได้เสมอ และคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจให้สำเร็จเร็ว
-รู้จักที่จะใช้ช่วงเวลาให้เกิดประโยชน์ ช่วงไหนควรจะเริ่มทำโปรโมชั่น หรือว่าช่วงเวลาที่จะลงทุนเพิ่ม
-รู้จักหลักการค้าต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร การค้าระหว่างประเทศ การค้าภายในประเทศ ต้องมองให้ไกลมองถึงอนาคตสินค้าเราจะกระจายไปทั่วโลกเราจะมีสินค้าหรือบริการที่ประทับใจลูกค้าทั่วโลกการบริการจะเป็นลักษณะใดเห็นอนาคตว่าเราจะเป็นที่รุ้จักของคนทั้งโลก
-มั่นใจตัวเองว่าเราทำได้ทุกๆสิ่งเราเป็นคนวางแผน ถ้าเราวางแผนธุรกิจดีคิดรอบคอบ มองการณ์ไกล มั่นใจว่าเราประสบความสำเร็จจากการเป็นผู้ประกอบการได้เช่นคนอื่นๆ