วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


Labor Law.
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ในช่วงภาวะปัญหาเศรษฐกิจถดถอยแบบ นี้ ทำให้นายจ้างหลายต่อหลายราย มีปัญหาเรื่องค่าจ้างแรงงาน มีการเลิกจ้างลูกจ้างเป็นจำนวนมาก โดยนายจ้างใช้วิธีการแตกต่างกัน เช่น บีบให้ออกจากงาน ย้ายแผนก ย้ายที่ทำงาน ลดเบี้ยเลี้ยง โอที ยัดข้อหา หรือประเมินผลงานทำงานว่าไม่มีประสิทธิภาพ

ยุบฝ่าย หรือยุบกิจการหรือนำเทคโนโลยีมาใช้แทน ทนายคลายทุกข์จึงขอนำตัวบทกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาที่น่าสนใจ การที่เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้าง โดยขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเป็นข้อ ๆ ดังนี้คือ

1.ลูกจ้างซึ่งทำงานก่อสร้างหรือ ใช้แรงงานกับผู้รับเหมาช่วง ถึงกำหนดใช้จ่าย ผู้รับเหมาช่วงอ้างว่าผู้รับเหมาชั้นต้นไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง กรณีนี้ลูกจ้างสามารถเรียกเงินจากผู้รับเหมาช่วง ผู้รับเหมาหลักและเจ้าของโครงการได้ ตามมาตรา 5

2.การเลิกจ้างทำได้ 3 กรณี

- สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา

- ลูกจ้างกระทำความผิดตามมาตรา 119 และ ปพพ.มาตรา 583

- การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน

3.การเลิกจ้างต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น จะเลิกจ้างด้วยวาจาไม่ได้ มาตรา 17 และต้องบอกเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง

4.การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ถ้าลูกจ้างกระทำความผิด หรือหย่อนประสิทธิภาพ เลิกจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ถ้าลูกจ้างมิได้กระทำความผิด ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17 วรรค 2 และ 4

5.การทดลองงานจะถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา จะต้องระบุให้ชัดเจนว่า ทดลองงานจนถึงวันที่เท่าใด ถ้าระบุว่าทดลองงานไม่เกิน 120 วัน ถือว่าเป็นการจ้างโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นเมื่อจะเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ยกเลิกกระทำความผิด

6.การร้องขอความเป็นธรรมต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่ลูกจ้างมีภูมิ ลำเนาอยู่ ตามมาตรา 123

พนักงานตรวจแรงงานต้องมีคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง และถ้าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชย ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นายจ้างทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง มาตรา 124

7.นายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้ฟ้องศาลแรงงานได้ภาย ใน 30 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ถ้าไม่ฟ้องศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด ในกรณีนายจ้างฟ้องศาลต้องนำเงินค่าจ้างหรือค่าชดเชยไปวางต่อศาลก่อนจึงจะ ฟ้องคดีได้ มาตรา 125

8.ค่าชดเชยลูกจ้างจะเรียกได้มากหรือน้อยเป็นไปตามมาตรา 118 แต่ถ้าลูกจ้างทำผิดนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119

หากพี่น้องประชาชนท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับคดีแรงงานไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง ตั้งกะทู้ถามมาที่เวบไซด์http://www.decha.com นี้ หรือโทร.02-948-5700

Thankhttp://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=534548991&Ntype=136

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น