วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รางวัลซีไรต์ (อังกฤษ: S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (อังกฤษ: Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน

โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยา รวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี

นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542


สำหรับไทยมีดังนี้

คำพูน บุญทวี (26 มิถุนายน 2471 - 4 เมษายน 2546) นักเขียนสารคดี เรื่องสั้น และนวนิยายเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทอีสานและชีวิตคนในคุก ได้รับรางวัลซีไรท์เป็นคนแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2522 จากนวนิยายเรื่อง ลูกอีสาน และเป็นได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ประจำปี พ.ศ. 2544

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ศึกษาที่ โรงเรียนวิสุทธรังษี โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์จากสหวิทยาลัยทราวดี (วิทยาลัยครูกาญจนบุรี)

เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากได้พบโคลงที่บิดาเขียนไว้เมื่อครั้งยังหนุ่ม จึงอยากเขียนได้เช่นนั้นบ้าง ผลงานมีทั้ง ร้อยกรอง และร้อยแก้ว เมื่อเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอยู่ชุมนุมวรรณศิลป์มาก่อน

เมื่อ พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลซีไรต์จากกวีนิพนธ์รวมเล่มเรื่องเพียงความเคลื่อนไหว

เมื่อ พ.ศ. 2536 ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


อัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนเรื่องสั้น เจ้าของรางวัลซีไรท์ปี พ.ศ. 2524 เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จบชั้นมัธยมปีที่ 4 จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา กรุงเทพมหานคร หลังจากเป็นลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2 ปี จึงกลับมาสอบเข้าศึกษาต่อที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2513 ครั้นสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแล้ว ได้เริ่มทำงานกับผู้ผลิตหนังสือ "ประชากร" ระยะหนึ่ง ก่อนจะโยกย้ายไปประจำ "ประชาชาติ" , "สยามรัฐรายวัน" , "สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์" , "มาตุภูมิ" , "สู่อนาคต" และหวนคืนสู่ "สยามรัฐ" จวบจนปัจจุบัน

เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่เป็นนิสิต โดยเฉพาะ"สำนึกของพ่อเฒ่า" เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกในชีวิต ได้รับการคัดเลือกให้ได้อันดับสามจากการประกวดชิงรางวัล "พลับพลามาลี" เมื่อปี 2515 ของชุมนุมวรรณศิลป์จุฬาฯ จากนั้นอีกราวหกปี คือ พ.ศ. 2521 มีหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มแรกชื่อปก "ขุนทอง เจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง" หนังสือเล่มนี้ทำให้อัศศิริได้รับรางวัลซีไรท์ในปี พ.ศ. 2524

อัศศิริยังมีผลงานการเขียนบทละครโทรทัศน์เช่น เรื่อง "ขุนเดช" ของสุจิตต์ วงศ์เทศ และ "แม่นากพระโขนง"


ชาติ กอบจิตติ (25 มิถุนายน 2497 - ) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปีพ.ศ. 2547 และนักเขียน 2 รางวัลซีไรต์ และรางวัลช่อการะเกด


และท่านอื่นๆ เชิญคลิกอ่านรายละเอียดด้านในนะคะ


ประสาทพร ภูสศิลป์ธร

วาณิช จรุงกิจอนันต์

กฤษณา อโศกสิน

อังคาร กัลยาณพงศ์

ไพฑูรย์ ธัญญา

นิคม รายยวา

จิระนันท์ พิตรปรีชา

อัญชลี วิวัธนชัย

มาลา คำจันทร์

ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ

วินัย บุญช่วย

ชาติ กอบจิตติ

ไพวรินทร์ ขาวงาม

กนกพงศ์ สงสมพันธุ์

วินทร์ เลียววาริณ

แรคำ ประโดยคำ

วินทร์ เลียววาริณ

วิมล ไทรนิ่มนวล

โชคชัย บัณฑิต

ปราบดา หยุ่น

เดือนวาด พิมวนา

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

บินหลา สันกาลาคีรี

งามพรรณ เวชชาชีวะ

มนตรี ศรียงค์

วัชระ สัจจะสารสิน

อุทิศ เหมะมูล


แหล่งที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%8C

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น